สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5

สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5

     โครงการจัดทำแผนแม่บท และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 5 ขึ้น เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 ระหว่างเวลา 13:00-17:00 น. ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก ชั้น 5 เทศบาลนครนครราชสีมา

     การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5 นี้ เป็นการจัดเพิ่มเติมจากแผนการดำเนินโครงการเดิม ซึ่งกำหนดจัดทั้งสิ้น 4 ครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากในการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นายจักริน เชิดฉาย ได้เสนอความเห็นว่าทางภาคธุรกิจของโคราชยังไม่ทราบข้อมูลและยังไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร ที่ปรึกษาฯ จึงได้เพิ่มการประชุมกลุ่มย่อยสำหรับภาคธุรกิจขึ้นอีก 1 ครั้ง โดยได้เชิญตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน สมาคม องค์กร สถาบัน ประชาชนที่สนใจ เทศบาลนครนครราชสีมา และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม กว่า 70 หน่วยงาน และมีจำนวนผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน จากหน่วยงานดังต่อไปนี้

1.       ห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่า นครราชสีมา

2.       ห้างสรรพสินค้าคลังวิลล่า นครราชสีมา

3.       ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขานครราชสีมา

4.       เจริญภัณฑ์เบเกอรี่

5.       ตลาดสุรนคร

6.       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

7.       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

8.       มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

9.       โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

10.    วิทยาลัยอาชีวนครราชสีมา

11.    เทศบาลนครนครราชสีมา

12.    สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง (นม)

13.    สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่11

14.    สำนักทางหลวงที่ 8

15.    CSR โคราช

16.    หอการค้าจังหวัด (นม)

17.    สมาคมร้านทอง

18.    วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) สาขา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

19.    องค์การความร่วมมือเยอรมัน (GIZ)

20.    นสพ.โคราชคนอีสาน

21.    วิทยุ-ข่าว DTV

22.    นิวส์ธุรกิจ

23.    เดอะนิวส์

     ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม ซึ่งทางที่ปรึกษาฯ จะได้นำไปประกอบการศึกษาโครงการต่อไป มีดังนี้

-        ผู้เข้าร่วมประชุมหลายท่านเห็นว่าเนื้อหาการนำเสนอมีความชัดเจนและละเอียดขึ้นในด้านการคัดเลือกระบบที่เหมาะสม

-        ผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านเห็นว่าเอกสารประกอบการประชุมยังไม่สมบูรณ์ และบางท่านไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคนิค AHP ในการศึกษาทางเลือก โดยเห็นว่าประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนนด้วย

-        การศึกษาขององค์การความร่วมมือประเทศเยอรมัน หรือ GIZ ที่ทำให้เมืองโคราชมีข้อสรุปว่าระบบ BRT มีความเหมาะสม แต่ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดก่อนจะดำเนินการต่อไป โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าระยะห่างระหว่างสถานีควรจะให้สั้นลง และเสนอแนะให้พิจารณาแหล่งงบประมาณและการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการรถสองแถว

-        ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นสื่อมวลชนหลายท่านเสนอแนะในเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลโครงการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เนื้อหาการสนทนา

          อ.นิคม

-        ไม่เห็นด้วยกับการใช้เทคนิค AHP ในการศึกษาทางเลือก เปรียบเหมือนเลือกเสื้อผ้าแต่ไม่ดูคนที่จะใส่

-        พฤติกรรมคนโคราช ต้องการขึ้นรถแล้วลงที่จุดหมาย ไม่นิยมการต่อรถ

-        ต้องการทราบว่าปริมาณคนที่ใช้เส้นทางสายแรก คือ ราชสีมา-บ้านเกาะ มีจำนวนเท่าไร

          ดร.กีรติ

-        เทคนิค AHP เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับและเป็นสากล มีการใช้ทั่วโลก

-        จากการศึกษาชี้ให้เห็นสภาพปัญหาการจราจรของเมืองโคราช โดยหลักสามารถดูได้จากปริมาณที่เป็นระดับสูงสุด (Peak) ช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น และดูจาก load factor ของรถสองแถวที่มีค่าเกิน 100% จึงจำเป็นต้องวางแผนและดำเนินโครงการด้านระบบขนส่งมวลชนเพื่อแก้ปัญหาและรองรับอนาคต

-        ปริมาณคนที่ใช้เส้นทางสายแรก คือ ราชสีมา-บ้านเกาะ ได้นำเสนอในสไลด์ คือ 21,800 คนต่อเที่ยวต่อวัน ในปี 2560 ไปจนถึง 98,100 คนต่อเที่ยวต่อวัน ในปี 2590

          รศ.ดร.วัฒนวงศ์

-        ในการศึกษาได้ทำการสำรวจ Origin-Destination Survey หรือ OD Survey เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการการเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดหมายปลายทาง เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ด้วย

-        แบบจำลองที่ใช้ คือ CUBE Model เป็นแบบจำลองที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก และทางสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและการจราจร หรือ สนข. ใช้งาน โดยแบบจำลองมีการรวมข้อมูลหลายชั้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลทางหลวงและถนนต่าง ๆ

          คุณสุนทร จันทรรังสี

-        การประชุมนี้เรียกว่าเป็นการประชุมหรือการสัมมนา

-        เอกสารประกอบการประชุมไม่สมบูรณ์และไม่ได้รับหนังสือเชิญประชุม

          ผศ.ดร.สุดจิต

-        เป็นการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 5 โดยเน้นเป็นกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มภาคธุรกิจ และผู้ที่สนใจ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนแบ่งเป็นการสัมมนาใหญ่ ซึ่งจัดไปแล้ว 2 ครั้ง และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีการจัดทั้งสิ้น 5 ครั้ง มีเนื้อหาสาระที่สำคัญประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ ผลการศึกษาโครงการ และการรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม

-        เรื่องเอกสารและหนังสือเชิญประชุมจะนำไปปรับปรุงในการประชุมครั้งต่อไป

          Mr.Paul (GIZ)

-        การศึกษาของ GIZ ที่ทำให้เมืองโคราชมีข้อสรุปว่าระบบ BRT มีความเหมาะสม แต่ต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดก่อนจะดำเนินการต่อไป

-        ระยะห่างระหว่างสถานีประมาณ 1.3 ก.ม. ถือว่ายาวกว่าใน กทม. คิดว่าควรจะให้สั้นลงเหลือประมาณ 400 ม.

-        อยากทราบว่างบประมาณจะมาจากที่ใด ผู้เดินระบบจะต้องจ่ายหรือไม่ โดยอยู่ในค่าโดยสาร และผู้ประกอบการสองแถวจะมีส่วนร่วมหรือไม่ ทั้งนี้ ที่จังหวัดเชียงใหม่มีผู้ประกอบการสองแถวต่อต้านการดำเนินโครงการ

          ดร.กีรติ

-        งบประมาณในการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะมาจากรัฐบาลกลาง เนื่องจากเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะอยู่แล้ว และที่ผ่านมาลงทุนแต่ใน กทม.

          ผู้เข้าร่วมประชุม #1

-        เห็นว่าระยะระหว่างสถานีควรให้แคบเข้า

-        ควรจัดเส้นทางรถสองแถวให้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนที่จะเกิดขึ้น

          ดร.กีรติ

-        ในการออกแบบจะมี Park and Ride ที่บริเวณสถานี และมีระบบตั๋วร่วมเพื่อการเชื่อมต่อ

          คุณจักริน เชิดฉาย

-        เห็นว่าการรับรู้ของประชาชนชาวโคราชยังมีไม่เพียงพอ แม้แต่ตนเองยังไม่ได้รับหนังสือเชิญประชุม

-        ในครั้งนี้มีข้อมูลการเปรียบเทียบระบบแบบต่าง ๆ ถือว่าดีขึ้นกว่าครั้งก่อน

          ผศ.ดร.สุดจิต

-        ที่ปรึกษาฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ และผ่านส่วนประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับโครงการให้มากที่สุด โดยสามารถสรุปเฉพาะจำนวนหน่วยงานที่ได้รับหนังสือเชิญหรือมาร่วมประชุม รวมได้กว่า 211 หน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ชุมชน/ประชาชน 31 หน่วยงาน ภาคธุรกิจ 82 หน่วยงาน สถานศึกษา17 หน่วยงาน โรงพยาบาล 7 หน่วยงาน ภาคราชการ 35 หน่วยงาน สถาบัน/องค์กร/สมาคม 24 หน่วยงาน สื่อมวลชน 15 หน่วยงาน

-        สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้ส่งหนังสือเชิญแบบ EMS เชิญประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และตัวแทนภาคธุรกิจเอกชน จากรายชื่อที่ได้รับจากหอการค้าจังหวัด นอกจากนี้ยังได้เชิญหน่วยงานอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยมาร่วมเพิ่มเติมอีก รวมกว่า 70 หน่วยงาน การที่ประธานหอการค้าไม่ได้รับหนังสือเชิญ อาจเกิดจากขั้นตอนภายในหลังจากรับเอกสารแล้ว

-        อย่างไรก็ตามขอขอบพระคุณหอการค้าจังหวัดที่ได้กรุณาจัดการเสวนาขึ้นในเรื่องรถ Sky Bus ขึ้นในวันพุธที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อที่ปรึกษาฯ ได้ทราบข่าวก็ได้ติดต่อขออนุญาตไปเข้าร่วมด้วย และได้มีโอกาสในการชี้แจงข้อมูลให้กับสมาชิกหอการค้าได้ทราบ โดยประธานหอการค้าได้เชิญชวนผู้ที่เข้าประชุมให้มาร่วมการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5 ในวันนี้ด้วย

          พระภิกษุ #1

-        ให้กำลังใจกับคณะที่ปรึกษาฯ โดยหากมีคำตำหนิก็ให้คิดว่าเป็นการให้พร เพื่อให้ทำงานดีขึ้น

-        ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจราจร สภาพถนนที่ชำรุด ควรมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น

          สมาคมร้านทอง

-        การศึกษานี้อยู่ในขั้นไหน ระบบขนส่งมวลชนนี้จะเกิดขึ้นในโคราชเมื่อไร

          ดร.กีรติ

-        การศึกษานี้อยู่ในขั้นแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสม เมื่อเสร็จสิ้นในปลายปีนี้แล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการจัดทำโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียด ซึ่งจะมีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ด้วย จากนั้นต้องของบประมาณก่อสร้าง จึงจะเกิดการก่อสร้างโครงการ ซึ่งคงใช้เวลาอีกอย่างน้อย 1-2 ปี

          คุณสิริ

-        เสนอแนะว่าควรมีการจัดแถลงข่าวเกี่ยวกับโครงการ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

          คุณมานะ แย้มจะบก

-        จากที่ฟังในวันนี้ยอมรับว่ามีข้อมูลครบถ้วน แต่ขอฝากให้ดูกรณีอุโมงค์ลอดที่มีปัญหาเป็นตัวอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิม

          คุณสันติ

-        เสนอแนะการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง

           

ภาพบรรยากาศ

Previous Slide 1/8 Nextการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 5

 

Error | โครงการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา
Enter your โครงการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา username.
Enter the password that accompanies your username.

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.

Error message

  • Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/includes/common.inc:2608) in drupal_send_headers() (line 1239 of /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/includes/bootstrap.inc).
  • PDOException: SQLSTATE[42000]: Syntax error or access violation: 1142 INSERT command denied to user 'ktran'@'203.158.4.150' for table 'watchdog': INSERT INTO {watchdog} (uid, type, message, variables, severity, link, location, referer, hostname, timestamp) VALUES (:db_insert_placeholder_0, :db_insert_placeholder_1, :db_insert_placeholder_2, :db_insert_placeholder_3, :db_insert_placeholder_4, :db_insert_placeholder_5, :db_insert_placeholder_6, :db_insert_placeholder_7, :db_insert_placeholder_8, :db_insert_placeholder_9); Array ( [:db_insert_placeholder_0] => 0 [:db_insert_placeholder_1] => cron [:db_insert_placeholder_2] => Attempting to re-run cron while it is already running. [:db_insert_placeholder_3] => a:0:{} [:db_insert_placeholder_4] => 4 [:db_insert_placeholder_5] => [:db_insert_placeholder_6] => http://ktran.sut.ac.th/dupal/content/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-5 [:db_insert_placeholder_7] => [:db_insert_placeholder_8] => 18.223.172.252 [:db_insert_placeholder_9] => 1714178947 ) in dblog_watchdog() (line 154 of /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/modules/dblog/dblog.module).