สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4

สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4

     โครงการจัดทำแผนแม่บท และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 4 ขึ้น เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 ระหว่างเวลา 9:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ “ทับแก้ว” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีตัวแทนบริษัทรถโดยสารประจำทาง สำนักงานขนส่งจังหวัด ผู้ประกอบการวินจักรยานยนต์ เทศบาลนครนครราชสีมา และสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุม จำนวน 57 คน ได้แก่

1.       บริษัท เฉลิมพลขนส่ง จำกัด (รถเมล์สาย1,14)

2.       บริษัทบุญเกียรติ

3.       วินจักรยานยนต์รับจ้าง (หน้าอาชีวะ)

4.       วินจักรยานยนต์รับจ้าง (สามแยกซอยชื่นฯ)

5.       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

6.       มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

7.       เทศบาลนครนครราชสีมา

8.       สถานีตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา

9.       สำนักงานขนส่งจังหวัด (นม)

10.    กลุ่มคนโคราชรักประชาธิปไตย

11.    สหกรณ์เดินรถ

12.    มติชน

13.    วิทยุ-ข่าว DTV

14.    โคราชข่าวแจก

     ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม ซึ่งทางที่ปรึกษาฯ จะได้นำไปประกอบการศึกษาโครงการต่อไป มีดังนี้

-        มีความกังวลในส่วนผู้ประกอบการรถโดยสาร และจักรยานยนต์รับจ้าง อาทิ ปัจจุบันรถสองแถวมีหลายสายและแข่งขันกันสูงมาก

-        มีการสอบถามและเสนอแนะทางออกสำหรับผู้ประกอบการ อาทิ การปรับเส้นทางของรถสองแถวใหม่โดยมีจุดเชื่อมต่อที่เหมาะสม การให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในระบบขนส่งมวลชน

-        เสนอแนะองค์ประกอบที่สนับสนุนระบบขนส่งมวลชน อาทิ ที่จอดรถยนต์ส่วนตัว ความปลอดภัยบริเวณสถานี การอำนวยความสะดวกหากสภาพอากาศไม่อำนวย เช่น ฝนตก และการเชื่อมต่อระบบฯ

-        บริเวณหน้าโรงเรียนอนุบาลนครนครราชสีมา ระบบขนส่งมวลชนฯ อาจตอบสนองกลุ่มคนที่มาส่งลูกแล้วกลับบ้าน แต่กลุ่มคนที่มาส่งลูกแล้วไปทำงานต่อก็อาจไม่ใช้ระบบฯ

-        ความเห็นส่วนใหญ่เห็นว่านักเรียนที่เดินทางได้เองจะหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแน่นอน

-        มีความเป็นห่วงผลกระทบของการก่อสร้างต่อสภาพการจราจร

 

เนื้อหาการสนทนา

          สารวัตรจราจร นม.

-        กังวลในส่วนผู้ประกอบการรถโดยสาร จะมีทางออกให้อย่างไร

-        กทม. มีการใช้ระบบ BRT แต่ขาดการสนับสนุนจึงไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ต้องมีที่จอดรถยนต์ส่วนตัว ต้องมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้จักรยานยนต์หรือเดินมาที่สถานีเวลาดึก ต้องอำนวยความสะดวกหากสภาพอากาศไม่อำนวย เช่น ฝนตก และต้องมีการเชื่อมต่อระบบให้ดี

          ดร.กีรติ

-        ที่ปรึกษาฯ ให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อเป็นอย่างมาก

-        ระบบขนส่งฯ ไม่ได้มาแย่งผู้โดยสารของรถสองแถว แต่ต้องมีการพัฒนาให้สองแถวทำหน้าที่เป็นระบบ feeder

-        ในการศึกษานี้จะมีการออกแบบที่จอดรถ “จอดแล้วจร” และเสนอระบบรักษาความปลอดภัยที่สถานี

          เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร

-        หน้าโรงเรียนอนุบาลนครฯ มีปัญหามาก ระบบขนส่งมวลชนฯ อาจตอบสนองกลุ่มคนที่มาส่งลูกแล้วกลับบ้าน แต่กลุ่มคนที่มาส่งลูกแล้วไปทำงานต่อก็อาจไม่ใช้ระบบฯ

-        นอกจากนั้นยังมีรถตู้รับ-ส่งนักเรียนจำนวนมาก

-        คิดว่านักเรียนโรงเรียนอนุบาลฯ คงไม่ใช้ระบบฯ เพราะเป็นเด็กเล็ก แต่โรงเรียนอื่น ๆ ตรงจุดนั้นคงใช้แน่

          สารวัตรจราจร นม.

-        ทราบว่า BRT ในกรุงเทพฯ มีคนใช้น้อย ไม่ทราบเป็นเพราะอะไร

          ดร.กีรติ

-        เน้นว่าการมีระบบขนส่งมวลชนฯ เพื่อเป็นทางเลือกของประชาชนในการเดินทาง

          บ.เฉลิมพลขนส่ง

-        คิดว่ามีผลกระทบกับสองแถวมาก เช่น นักเรียนรร.ราชสีมาน่าจะหันมาใช้ระบบฯ

-        ระบบขนส่งมวลชนจะดึงคนจากรถสองแถว ปัจจุบันรถสองแถวมีหลายสายและแข่งขันกันสูงมาก

-        เห็นว่าคนในเมืองยังมีไม่มาก

-        น่าจะปรับปรุงระบบรถไฟของเมืองให้ดีมากกว่า

          ดร.กีรติ

-        รถสองแถวมีความจำเป็นอย่างมากในการเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชน โดยจะช่วยดึงคนเข้ามาใช้ระบบในฐานะ feeder ซึ่งต้องมีการศึกษารายละเอียดอีกมากในอนาคตว่าจะร่วมกันอย่างไร

          บ.บุญเกียรติ

-        ทางบริษัทฯ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจาก AEC อยู่แล้ว จึงไม่มีความกังวลในการปรับปรุงเพื่อแข่งขันกับระบบขนส่งมวลชน

-        คิดว่าจะกระทบกับจักรยานยนต์รับจ้างมากกว่า เพราะเทียบแล้วราคาสูงกว่า คนอาจใช้น้อยลง

-        คิดว่าขณะปัจจุบันคนในเมืองยังไม่มาก แต่ในอนาคตระบบขนส่งมวลชนของเมืองโคราชควรต้องมี

          เจ้าหน้าที่ สนง.ขนส่งจังหวัด

-        การจัดเส้นทางรถสองแถวต้องวิ่งผ่านชุมชนและสถานที่สำคัญ ปัจจุบันมีปัญหารายได้น้อย น้ำมันแพง

-        เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนในระบบขนส่งมวลชน

          ดร.กีรติ

-        การร่วมลงทุนเป็นเรื่องที่ได้ศึกษา นอกจากนี้แนวทางเกี่ยวกับผู้ประกอบการมีความเป็นไปได้หลายรูปแบบ อาทิ การดึงผู้ประกอบการมาร่วมทำงาน ร่วมบริหารงาน แบ่งส่วนแบ่งรายได้ ฯลฯ ซึ่งต้องมีการศึกษาต่อในรายละเอียดในโครงการการออกแบบรายละเอียดในอนาคต

          เจ้าหน้าที่ สนง.ขนส่งจังหวัด

-        การที่ กทม. มีระบบขนส่งมวลชนรูปแบบต่าง ๆ แล้ว แต่รถก็ยังติด น่าจะเป็นเพราะกฎหมายไม่พัฒนาตามไปด้วย

          ดร.กีรติ

-        คนที่ซื้อรถส่วนตัวแล้ว เมื่อมีระบบขนส่งมวลชนเกิดขึ้นก็จะยังคงใช้รถอยู่ แต่เมื่อมองในระยะยาว คนที่ใช้ระบบฯ ตั้งแต่แรกจะซื้อรถส่วนตัวน้อยลง

          สหกรณ์บริการเดินรถ

-        ปัจจุบันรถสองแถวหมวด 4 วิ่งแย่งผู้โดยสาร เช่น หลัง รพ.มหาราช

          คุณชาติชาย ยุวชิต (สนง.ขนส่งจังหวัด)

-        BRT ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของอนาคต

-        ปัจจุบันสถิติจดทะเบียนสูงมาก รถเก๋ง เดือนละ 100 คัน และ จักรยานยนต์อีกเดือนละ 100 คัน

-        เส้นทางของรถสองแถวสามารถปรับใหม่ได้ ไม่น่ามีปัญหา แต่ต้องมีจุดเชื่อมต่อที่เหมาะสม

-        ในการนำเสนอควรนำเส้นทางเก่า เส้นทางใหม่ และเส้นทาง BRT มาซ้อนกันเพื่อเปรียบเทียบ

          เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร

-        การก่อสร้างจะใช้เวลานานหรือไม่ เพราะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจราจร

          ดร.กีรติ

-        การก่อสร้าง BRT ยกระดับ จะรบกวนการจราจรในช่วงการก่อสร้างตอม่อฐานราก ประมาณ 4-6 เดือน โดยต้องปิดถนนประมาณครึ่งเลนทั้งสองฝั่งของเกาะกลางถนน

          เจ้าหน้าที่ สนง.ขนส่งจังหวัด

-        ค่าโดยสารที่ประมาณไว้ 15 บาท เป็นตัวเลขของวันนี้ แต่ในอนาคตเมื่อเสร็จและใช้จริงจะเป็นเท่าไร

-        อยากทราบปริมาณผู้โดยสารและจุดคุ้มทุนของระบบฯ

          ดร.กีรติ

-        การศึกษาความเหมาะสมด้านการเงิน กรณีรัฐบาลลงทุนโครงสร้าง สามารถเก็บ 15 บาทได้ ส่วนในอนาคตการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับการอุดหนุดของรัฐ

          เจ้าหน้าที่ สนง.ขนส่งจังหวัด

-        ตัวอย่างที่ใช้ระบบ BRT ในต่างประเทศมีที่ไหนบ้าง

          ดร.กีรติ

-        ประเทศในอเมริกาใต้ ร้อยละ 90 ใช้ BRT ระดับดิน ส่วน BRT ยกระดับ มีที่เมืองนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น และเมืองเซียะเหมิน ประเทศจีน operational speed อยู่ที่ 80 กม./ชม.

 

ภาพบรรยากาศ

Previous Slide 1/8 Nextการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 4

 

Error | โครงการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา
Enter your โครงการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา username.
Enter the password that accompanies your username.

Error

The website encountered an unexpected error. Please try again later.

Error message

  • Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/includes/common.inc:2608) in drupal_send_headers() (line 1239 of /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/includes/bootstrap.inc).
  • PDOException: SQLSTATE[42000]: Syntax error or access violation: 1142 INSERT command denied to user 'ktran'@'203.158.4.150' for table 'watchdog': INSERT INTO {watchdog} (uid, type, message, variables, severity, link, location, referer, hostname, timestamp) VALUES (:db_insert_placeholder_0, :db_insert_placeholder_1, :db_insert_placeholder_2, :db_insert_placeholder_3, :db_insert_placeholder_4, :db_insert_placeholder_5, :db_insert_placeholder_6, :db_insert_placeholder_7, :db_insert_placeholder_8, :db_insert_placeholder_9); Array ( [:db_insert_placeholder_0] => 0 [:db_insert_placeholder_1] => cron [:db_insert_placeholder_2] => Attempting to re-run cron while it is already running. [:db_insert_placeholder_3] => a:0:{} [:db_insert_placeholder_4] => 4 [:db_insert_placeholder_5] => [:db_insert_placeholder_6] => http://ktran.sut.ac.th/dupal/content/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-4 [:db_insert_placeholder_7] => [:db_insert_placeholder_8] => 3.17.150.163 [:db_insert_placeholder_9] => 1714050230 ) in dblog_watchdog() (line 154 of /home/ktran/domains/ktran.sut.ac.th/public_html/dupal/modules/dblog/dblog.module).