การศึกษาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน
ที่ปรึกษาจะทำการออกแบบโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนหลายๆ รูปแบบ พร้อมทั้งนำโครงข่ายที่มีการเสนอจากท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา เพื่อคัดเลือกหาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมสำหรับเมืองนครราชสีมา นอกจากนี้แล้ว ที่ปรึกษาจะพิจารณากำหนดรูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสมว่าควรจะเป็น ระดับดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน โดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ราคาค่าก่อสร้าง ค่าประกอบการ ค่าบำรุงรักษา ระยะเวลาการก่อสร้าง พฤติกรรมของผู้ใช้รถสาธารณะ ระบบผังเมือง รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นจากท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ที่ปรึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์แนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้เบื้องต้นในการพัฒนาเป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมสำหรับเมืองนครราชสีมา ดังแสดงในรูปที่ 4 โดยในการศึกษานี้ ที่ปรึกษาจะดำเนินการทบทวนและพัฒนาแนวเส้นทางให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
รูปที่ 4 แนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้เบื้องต้น
การศึกษาด้านเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชน
ที่ปรึกษาได้ทำการศึกษาเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชนจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อคัดเลือกหาเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมสำหรับเมืองนครราชสีมา ทั้งนี้จะต้องพิจารณาความเหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
1. ประเภทของเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชน
โดยทั่วไประบบขนส่งมวลชนสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ตามลักษณะการดำเนินการและเทคโนโลยีของยานพาหนะดังนี้
- ระบบที่ดำเนินการบนถนน (Road-based systems) ได้แก่ รถประจำทางทั่วไป (Conventional Bus) ทั้งที่วิ่งปนกับกระแสจราจรทั่วไป หรือระบบที่มีการให้สิทธิ์หรือมีเขตทางเฉพาะ ซึ่งรวมถึงรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit, BRT) และช่องเดินรถพิเศษสำหรับรถประจำทาง (Bus Way) ความเร็วจะช้ากว่าระบบอื่นๆ เพราะมีความล่าช้าจากการวิ่งปนในกระแสจราจร
- ระบบผสมผสาน (Intermediate systems or hybrid bus-tram systems) คือ ระบบเทคโนโลยีล้อยางที่ดำเนินการตามแนวถนนโดยมีระบบนำร่อง (Guided system)
- ระบบราง (Rail-based systems) ได้แก่ รถราง (Tram) รถรางไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail Transit) และระบบขนส่งมวลชนขนาดหนัก (Heavy Rapid Transit) มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ทั้งหมดจะวิ่งให้บริการโดยมีระบบนำร่อง ทำให้เป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีความจุสูงและมีความรวดเร็ว
|
|
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) |
|
|
|
|
ภาพตัวอย่างระบบที่ใช้ในต่างประเทศ BRT |
|
|
|
|
ตัวอย่างระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวที่ให้บริการในเมืองต่างๆ |
|
|
|
|
ระบบรถไฟฟ้ารางเบาที่ให้บริการในเมืองต่างๆ |
|
|
![]() |
|
ตัวอย่างระบบรถไฟขนาดหนัก (MRT) ในเมืองต่างๆ |
2. สรุปการเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย
ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าการลงทุนในโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในประเทศไทย ทั้งที่ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา สามารถเปรียบเทียบได้ดัง ตารางที่ 1 ซึ่งจะเห็นว่าราคาเฉลี่ยต่อกิโลเมตรของระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ถูกที่สุด ซึ่งถูกกว่ารถไฟลอยฟ้าและรถไฟใต้ดินประมาณ 18 และ 48 เท่าตามลำดับ
ตารางที่ 1 ข้อมูลเปรียบเทียบมูลค่าการลงทุนในโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย
|
BRT |
BTS |
MRTA |
ราคารวม (ล้านบาท) |
4,157 |
52,013 |
115,812 |
ราคาเฉลี่ย (ล้านบาท/กม.) |
122 |
2,213 |
5,790 |
ความยาวของระบบ (กม.) |
34.0 |
23.5 |
20.0 |
จำนวนสถานี |
33 |
23 |
18 |
ราคารถโดยสาร (ล้านบาท) |
13 |
80 |
เปรียบเทียบดัชนีชี้วัดของเขตทางรูปแบบต่างๆ
ดัชนีชี้วัด |
ลักษณะของเขตทาง |
||
ทางวิ่งต่างระดับ ช่องทางเฉพาะ |
ทางวิ่งระดับพื้นดิน ช่องทางวิ่งเฉพาะ |
ทางวิ่งระดับพื้นดิน วิ่งในกระแสจราจรทั่วไป |
|
ความเร็ว |
สูง |
สูง |
ต่ำถึงปานกลาง (การจัดการด้านการให้ความสำคัญระบบขนส่งสาธารณะ) |
ความตรงต่อเวลาของการมาถึงจุดจอดรับ-ส่ง |
สูง |
สูง |
ต่ำถึงปานกลาง |
ประเด็นทางการจราจร |
ต้องการจัดการบริเวณทางแยก/ทางเชื่อม |
สัญญาณไฟจราจร |
วิ่งในกระแสการจราจร, มีระบบสัญญาณควบคุม,คนเดินเท้า |
ประเด็นของลักษณะตัวรถ |
วิ่งเป็นขบวนยาวได้ |
สั้นกว่า (ถูกจำกัดด้วยระยะห่างระหว่างทางแยก และความยาวของสถานีจอด) |
สั้นกว่า(ถูกจำกัดระยะห่างระหว่างทางแยก และความยาวของสถานีจอด) |
ความปลอดภัย |
สูง |
ปานกลางถึงสูง |
มีความเสี่ยง (ยกตัวอย่างในกรณีของรถโดยสารแบบมาตรฐาน) |
ความต้องการใช้พื้นที่ |
หลากหลาย (ในบางกรณีสามารถใช้เขตทางสาธารณะ) |
ต้องการสูง (ต้องจัดแบ่งพื้นที่เขตทางที่เป็นถนนส่วนหนึ่งไปใช้ เช่น พื้นที่จอดรถบนถนน) |
ต้องการน้อย(เฉพาะในส่วนของพื้นที่สถานีและชานชาลา) |
ค่าใช้จ่าย |
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
รูปแบบระบบในกลุ่ม |
MRT, LRT, Monorail |
LRT, BRT, Bus Priority |
Bus, Bus Priority, Tram, BRT |
การจัดทำแผนแม่บท
ที่ปรึกษาจะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนนครราชสีมาระยะต่างๆ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว พร้อมกำหนดความเป็นไปได้ของโครงข่ายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนที่ควรดำเนินการเร่งด่วนก่อน (สายแรก) เพื่อนำไปศึกษาในรายละเอียดความเหมาะสม (Feasibility Study) ในขั้นตอนต่อไป รายละเอียดในแผนแม่บท ควรประกอบด้วยการทบทวนผลการศึกษาด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์จัดทำแผนแม่บท อาทิ การศึกษาด้านการจราจร ด้านสังคม ด้านผังเมือง ด้านโครงข่ายและเทคโนโลยีระบบขนส่งมวลชน ด้านเศรษฐกิจและการเงิน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านองค์กรบริหารจัดการ
สิ่งจำเป็นพื้นฐานของแต่ละเมืองคือ การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงเสริมสร้างเศรษฐกิจในด้านของการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการประหยัดเวลาในการเดินทาง แต่ยังต้องสามารถรักษาปริมาณผู้โดยสารโดยเฉลี่ยให้สูงสม่ำเสมออีกด้วยเพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นระบบที่ได้ชื่อว่า ‘เน้นที่ความต้องการของผู้โดยสาร’ โดยระบบจะต้องมีรายได้จากค่าโดยสารเพียงพอต่อการเดินรถและการบำรุงรักษาเพื่อไม่ให้เป็นภาระของงบประมาณในระยะยาว นอกจากนี้ยังต้องเป็นระบบที่ อำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ที่เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวให้เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน อันจะทำให้การจราจรมีความแออัดน้อยลง ลดการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษ และที่สำคัญเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดียิ่งขึ้นโดยวิธีการและขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทนั้นแสดงรายละเอียดดังรูปที่ 2.1.5-1
รูปที่ 2.1.5-1 วิธีการและขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บท
ผลการศึกษาแผนแม่บทของเส้นทางที่เลือก
แผนแม่บทระยะสั้น 5 ปีแรก
แผนแม่บทระยะกลาง 5-10 ปี
แผนแม่บทระยะยาว 10-15 ปี