สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
โครงการจัดทำแผนแม่บท และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม 2555 ระหว่างเวลา 9:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยมีตัวแทนชุมชนในแนวสายทางหลักเข้าร่วมประชุม จำนวน 57 คน จาก 8 ชุมชน ได้แก่
1. ชุมชนรุ่งเรือง-บุญเรือง
2. ชุมชนกองพระทราย
3. ชุมชนสืบศิริพัฒนา
4. ชุมชนเคหะชุมชนนครราชสีมา
5. ชุมชนราชสีมา
6. ชุมชนอัมพวันพัฒนา
7. ชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง
8. ชุมชนวัดบูรพ์
ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม ซึ่งทางที่ปรึกษาฯ จะได้นำไปประกอบการศึกษาโครงการต่อไป มีดังนี้
- ควรมีการกำหนดจุดขึ้น-ลงของระบบฯ อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
- ควรมีแนวทางเสริมเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด เช่น เส้นทางเลี่ยงเมือง
- มีความห่วงใยในประเด็นสิ่งแวดล้อม ด้านฝุ่นละออง เสียงและความสั่นสะเทือน
- มีข้อสงสัยและซักถามเกี่ยวกับการขยายถนนและปัญหาการข้ามถนนของคนในชุมชน
- เสนอรูปแบบในการประชาสัมพันธ์หรือใช้มาตรการเก็บค่าธรรมเนียม เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชน
Previous Slide 1/5 Nextการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2
สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 3
โครงการจัดทำแผนแม่บท และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองนครราชสีมา ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3 ขึ้น เมื่อวันพุธที่ 22 สิงหาคม 2555 ระหว่างเวลา 9:00-12:00 น. ณ ห้องประชุม ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ “ทับแก้ว” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีตัวแทนสถานศึกษาในแนวสายทางหลักเข้าร่วมประชุม จำนวน 63 คน จาก 8 สถาบัน ได้แก่
1. โรงเรียนเมืองนครราชสีมา
2. โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา
3. โรงเรียนสุรนารีวิทยา
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
6. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
7. วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม ซึ่งทางที่ปรึกษาฯ จะได้นำไปประกอบการศึกษาโครงการต่อไป มีดังนี้
- ควรมีการศึกษาเรื่องผังเมืองให้ดี เพราะมีความสำคัญกับการพิจารณาระบบฯ
- เสนอแนะการใช้จักรยานเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการจราจร
- เสนอให้คำนึงถึงผลกระทบต่อคูเมืองหรือความสำคัญด้านประวัติศาสตร์
- ทางโรงเรียนต่าง ๆ ได้พยายามดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาจราจรอย่างเต็มที่ โดยใช้หลายวิธีการ
- ควรคำนึงถึงระบบการเชื่อมต่อ มีจุดพักรถเพื่อให้จอดและมาใช้ระบบฯ มีทางลาดสำหรับลากกระเป๋า
- ที่จอดรถควรปรับปรุงให้มีเพียงพอ ปลอดภัย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- ควรให้สามารถนำจักรยานขึ้นระบบขนส่งฯ ได้ด้วย